วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สารส้ม


การเปลี่ยนเเปลงของสารส้มเหลวจนกระทั่งเเข็งตัว
เมื่ออุณหภูมิลดลงคล้ายกับการแข็งตัวของสารต่างๆที่ถูกหลอมอยู่ภายในโลก
จะเเตกต่างกันตรงที่สารต่างๆ ในโลก
จะหลอมที่อุณหภูมิสูงมากๆ
เมื่อให้ความร้อนแก่สารส้มจนหลอมเหลวหมด
แล้วลดอุณหภูมิของสารส้มเหลวอย่างเร็ว
โดยการนำภาชนะเเช่ในน้ำเเข็งจะเห็นสารส้มเหลวเปลี่ยนสภาพเป็นของเเเข็งในเวลาไม่นาน
ในขณะที่สารส้มเหลวในอีกภาชนะหนึ่งซึ่งห่อผ้าไว้
อุณหภูมิของสารส้มเหลวจะลดลงอย่างช้าๆ และในที่สุดก็แข็งตัวเช่นกัน

เมื่อทุบสารส้มที่เเข็งเเล้วจากทั้งสองภาชนะ และส่งดูด้วยเเว่นขยาย
พบว่าสารส้มทั้งสองมีลักษณะของเนื้อผลึกต่างกัน

ถ้าตกผลึกเร็วจะได้ผลึกขนาดเล็ก

ถ้าตกผลึกช้าๆจะได้ผลึกขนาดใหญ่การเปลี่ยนเเปลงของสารส้มดังกล่าว
เป็นเหตุการณืที่เกิดขึ้นทำนองเดียวกันกับกระบวนการเกิดหินอัคนีในธรรมชาติ



---
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการตกผลึกของสารส้มเหวและการเย็นตัวลงจองหินแกรนิตและหินออบซิเดียน

- การตกผลึกของสารส้ม >>> สารส้ม (ก้อนใสๆขาวๆที่เอาไว้ใช้แกว่งน้ำให้ตกตะกอน) ถ้าเราเอาก้อนนี้ใส่ไปไว้ในน้ำมันจะละลาย

- พอมันละลายจนก้อนเล็กลงๆไปได้ซักพักนึงมันจะหยุดละลายไม่ว่าเราจะแกว่งนานเท่าไหนมันก็จะไม่ละลายต่อแล้ว

- ที่มันไม่ละลายเพราะว่าในน้ำมีสารส้มละลายออกมาปนเยอะมากแล้วเลยทำให้น้ำ "อิ่มตัว" เหมือนกับเราเทน้ำใส่โอ่งจนเต็มแล้วเทยังไงน้ำในโอ่งก็ไม่เพิ่มอีก

- แต่ถ้าเราเอาน้ำที่มีสารส้มละลายจนอิ่มตัวแล้วไปต้มจนร้อน จะทำให้เราละลายสารส้มได้เพิ่มอีก คล้ายๆกับการเพิ่มขีดจำกัดของน้ำให้ละลายสารส้มได้เพิ่มขึ้นอีก

- พอปล่อยน้ำให้เย็นลงจะมีผลึกเล็กๆเกิดขึ้น

- ผลึกนั้นคือสารส้ม เกิดมาจากตอนที่เราใส่ไปตอนต้มน้ำนั่นเอง พอน้ำเย็นลงสารส้มที่มีอยู่ในน้ำมีเยอะเกินไปมันเลยตกผลึกออกมาเป็นของแข็ง


- แล้วมันเกี่ยวยังไงกับหินแกรนิต
และหินออบซิเดียนเนี่ย?

- หินแกรนิตและหินออบซิเดียนเกิดมาจากแมกมาที่อยู่ใต้ผิวโลก

- ในแมกมาจะมีแร่ต่างๆผสมอยู่หลายชนิด

- พอแมกมาไหลออกมาที่ผิวโลกเราจะเรียกว่าลาวา
พอมันโดนความเย็นก็จะเกิดการตกผลึกของแร่ต่างๆที่อยู่ในนั้นคล้ายๆกับสารส้มเหลว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น