วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ปัจจัยที่ต่อผลกับชะตาชีวิตมนุษย์


หนึ่ง ชะตามนุษย์ คือฝีมือ ความสามารถ ความพยายาม
                สอง ชะตาฟ้า คือดวงชะตายามแรกเกิด พลังงานจักรวาลที่ประจุยามเกิด ลมหายใจเฮือกแรกของชีวิตทารก เสียงร้องไห้อุแว้ครั้งแรกในห้องคลอด
                สาม ชะตาดิน คือพลังสนามแม่เหล็กของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานประจำ
                รวมสามประสานก่อเกิดเป็น “ฮวงจุ้ย”
                การจัดฮวงจุ้ย เกิดจากการผสมผสาน 2 ส่วนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว คือ เรื่องชัยภูมิภายนอกและภายใน และการคำนวณพลังดวงดาวทั้ง 9 ดวง (การประยุกต์ตำราอี้จิง)
                การคำนวณเหินดาว คือการประยุกต์ตำราอี้จิง ด้วยตัวเลข
1,2,3,4,6,7,8,9 ผนวกกับอีกตัวคือเลข 5
                อี้จิง คือวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงผันแปรของสรรพสิ่ง จากมีเปลี่ยนเป็นไม่มี จากไม่มีกลับเป็นมี (ตัวเลข 0 และ 1 ในภาษาคอมพิวเตอร์) จากพลังงานบวกกลายเป็นพลังงานลบ สลับไปมา(ขั้วบวกขั้วลบในเรื่องพลังงานไฟฟ้า) แล้วแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ “เส้นเต็ม” และ “เส้นขาด” (หลักการหยินหยาง) เมื่อนำมาซ้อนทับกันได้ 6 ชั้น เรียก “ฉักลักษณ์” เพื่อหาค่าความน่าจะเป็นได้ 64 รูปแบบที่ไม่ผันแปร เรียกว่า “ฮวงจุ้ย 64 ข่วย” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือ “ฮวงจุ้ย 64 กว้า” ในภาษาจีนกลาง วิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันเรียกว่า “โครโมโซม” คือตัวเก็บรหัสพันธุกรรมของเซลล์ร่างกายมนุษย์ทั้ง 32 คู่

                ที่มาของตำราอี้จิง
               
เมื่อครั้งบรรพกาล กษัตริย์อวี่ ประสบปัญหาอุทกภัย มีมังกรแบกภาพใบหนึ่งโผล่มาจากแม่น้ำฮวงโห (ภาพเหอถู) “ตะพาบวิเศษ” ก็คาบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นจากลำน้ำลั่วสุ่ย (ตำราลั่วซู) อวี่อาศัยภาพและตำรา “ปรับเปลี่ยนขุนเขาทางน้ำ”แก้ปัญหาอุทกภัยทั้งเก้าแคว้นสำเร็จ หลังจากนั้น ก็อาศัยภาพเหอถูและความรู้จากการขจัดอุทกภัย เขียนตำรา “เหลียงซาน” ขึ้นมีความหมายว่าเชื่อมต่อแม่น้ำภูเขา

                เมื่อกษัตริย์อวี่เสียชีวิต บุตรชายคือเซี่ยฉี ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย เทิดทูนตำราเหลียงซานเป็นคัมภีร์วิเศษ ใช้เสี่ยงทายทำนายโชคเคราะห์ ต่อมาซางทังล้มล้างราชวงศ์เซี่ย ก่อตั้งราชวงศ์ซ่างขึ้น ตำราเหลียงซานตกอยู่ในมือมหาเสนาบดีนามอีอิน ทำการปรับปรุงกลายเป็น “ตำรากุยฉัง” หมายความว่าสรรพสิ่งของฟ้าดินล้วนเก็บซ่อนอยู่ภายใน ยังคงใช้เป็นเครื่องมือทำนายโชคเคราะห์
                ปลายราชวงศ์ซ่าง ติ้วอ๋องจับกุมจีซาง ไว้ในสถานที่เรียกว่าเซียงหลี่ จีซางเป็นคนชาญฉลาดระหว่างที่ถูกขังทำการศึกษาตำรากุยฉัง จนจัดทำตำรา “โจวอี้” ซึ่งอีกชื่อหนึ่งคือ “อี้จิง” ครอบคลุมถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งมวล สรุปแล้วตำราทั้งสามเล่มแม้มีชื่อผิดแผก แท้ที่จริงมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน
               
                การคิดค้นวิทยาการของชาวตะวันออก มักจะไม่นิยมยกยอตนเองว่าดีเด่นเหนือคนอื่น จึงใช้ผีสางเทวดามาอ้างว่ามาบอกกล่าวแก่ตน เพื่อให้เกิดความน่าเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีที่ไม่ยึดตัวตนหรืออัตตาเป็นที่ตั้ง อีกทั้งเพื่อกันข้อครหานินทาหากมีเรื่องไม่ชอบมาพากลในภายหลัง ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับผิดรับชอบ ถ้ามองผิวเผินก็มีส่วนดี แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งก็จะพบว่า บางครั้งทำให้ตำราบางอย่างหาที่มาที่ไปค่อนข้างยาก เพราะไม่มีใครต้องการได้ “ลิขสิทธิ์” มาครอบครองเหมือนอย่างปัจจุบันที่มีกฎหมายรองรับในส่วนนี้ แต่ด้วยรากเหง้าบรรพชนไม่คุ้นเคย เราก็จะไม่ค่อยได้ยินการฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ที่เป็นกรณีใหญ่เหมือนในฝั่งประเทศตะวันตก
                เมื่อท่านเจ้าของแบรนด์สินค้าและบริการต้องการให้ได้รับลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถยื่นคำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทุกเมื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น