จากบทความที่เคยกล่าวถึงอุทยานผาแต้ม
จ.อุบลราชธานี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสีแดงที่ใช้นั้น คนยุคดังกล่าว เชื่อว่าเป็นสีแห่งความตาย
คงจะดูว่าเมื่อคนจะตายมักจะมีเลือดไหลออกจากทวารทั้งเก้า ยุคนั้นจึงใช้สีแดง
หรือข้าวของที่เป็นสีแดงในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
ยุคหลัง สีแดงกับมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ใช้ในยามศึกสงคราม เพื่อให้มองดูเป็นกลุ่มก้อนแห่งความรักชาติเดียวกัน ก่อเกิดให้ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวแห่งความรักชาติพันธุ์ร่วมกันในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ถูกนิยามว่า คนไท
ในยุคที่ความเจริญด้านวิทยาการจำแนกกลุ่มคนออกจากกันยังไม่ได้ก้าวหน้า จึงต้องอาศัยสีของเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งสะท้อนด้วยการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ไททรงดำ ลาวทรงดำ กะเหรี่ยงขาว กะเหรี่ยงแดง
เมื่อวัฒนธรรมในแถบอุษาคเณย์หลากหลายมากขึ้น สีแดง ก็ยิ่งถูกตีความไปตามคติความเชื่อของแต่ละชนชาติที่เข้ามายึดครองดินแดนย่านนี้ ตั้งแต่การมาชาวภารตะ ไปจนถึงชาวจีนโพ้นทะเล
โดยส่วนใหญ่แล้ว สีแดงในยุคของเรา มักถูกใช้ในแง่ของความรื่นเริงสนุกสนานและการเฉลิมฉลอง เช่น เทศกาลปีใหม่คริสมาสต์ และเทศกาลตรุษจีน ถ้าถามคนทั่วไปอาจไม่ทราบว่าครั้งหนึ่ง สีแดงเคยถูกนิยามว่าเป็นสีแห่งความตาย
ยุคหลัง สีแดงกับมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ใช้ในยามศึกสงคราม เพื่อให้มองดูเป็นกลุ่มก้อนแห่งความรักชาติเดียวกัน ก่อเกิดให้ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวแห่งความรักชาติพันธุ์ร่วมกันในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ถูกนิยามว่า คนไท
ในยุคที่ความเจริญด้านวิทยาการจำแนกกลุ่มคนออกจากกันยังไม่ได้ก้าวหน้า จึงต้องอาศัยสีของเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งสะท้อนด้วยการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ไททรงดำ ลาวทรงดำ กะเหรี่ยงขาว กะเหรี่ยงแดง
เมื่อวัฒนธรรมในแถบอุษาคเณย์หลากหลายมากขึ้น สีแดง ก็ยิ่งถูกตีความไปตามคติความเชื่อของแต่ละชนชาติที่เข้ามายึดครองดินแดนย่านนี้ ตั้งแต่การมาชาวภารตะ ไปจนถึงชาวจีนโพ้นทะเล
โดยส่วนใหญ่แล้ว สีแดงในยุคของเรา มักถูกใช้ในแง่ของความรื่นเริงสนุกสนานและการเฉลิมฉลอง เช่น เทศกาลปีใหม่คริสมาสต์ และเทศกาลตรุษจีน ถ้าถามคนทั่วไปอาจไม่ทราบว่าครั้งหนึ่ง สีแดงเคยถูกนิยามว่าเป็นสีแห่งความตาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น