หัวใจศาสตร์ฮวงจุ้ย ประกอบด้วย 4 ส่วนประกอบคือ
หนึ่ง ชัยภูมิ คือรูปลักษณ์ที่มีผลต่อพลังงานสนามแม่เหล็กหรือพลังชี่
สอง องศาทิศทาง คือการคำนวณดาวเหินทั้ง 9 ดวง
สาม ดวงชะตาคือหลักการคำนวณดวงด้วยหลักการ 5 ธาตุพื้นฐาน
สี่ ฤกษ์ยาม มี 2 สำนักใหญ่คือ 5 ธาตุพื้นฐานกับ 64 ข่วย
หนึ่ง ชัยภูมิ คือรูปลักษณ์ที่มีผลต่อพลังงานสนามแม่เหล็กหรือพลังชี่
สอง องศาทิศทาง คือการคำนวณดาวเหินทั้ง 9 ดวง
สาม ดวงชะตาคือหลักการคำนวณดวงด้วยหลักการ 5 ธาตุพื้นฐาน
สี่ ฤกษ์ยาม มี 2 สำนักใหญ่คือ 5 ธาตุพื้นฐานกับ 64 ข่วย
หลักการก่อเกิดความเป็นมงคลแห่งชีวิตมนุษย์
คือ การปรับสภาพภูมิทัศน์ให้เข้ากับสนามแม่เหล็กโลก ด้วยการเลือกช่วงเวลาฤกษ์ยามที่เหมาะสมเข้ากันได้กับดวงชะตา
เรียกว่า หลักการสามประสาน “ฟ้าดินคน”
พื้นฐานชัยภูมิที่ดี
เริ่มต้นจากการสังเกต “มุมมอง” ตัวอาคารและสิ่งแวดล้อม จากพื้นฐานเรื่อง 4 สัตว์เทพ
มีเต่าดำ เสือขาว มังกรเขียว และหงส์แดงกำหนดมุมมองที่เป็นมงคลไว้คร่าว ๆ ดังนี้
หนึ่ง เต่าดำ ควรมีมุมมองประมาณ 45 องศากับตัวอาคารหลัก
สอง เสือขาวและมังกรเขียว ควรมีมุมมองประมาณ 22.5 องศากับตัวอาคารหลัก
และสาม หงส์แดง ควรมีมุมมองประมาณ 11.25 องศากับตัวอาคารหลัก
ลักษณะดังกล่าวดูคล้ายกับเรากำลังนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและที่เท้าแขนสองข้าง (Arm chair)
ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งที่อยากจะนำเสนอคือ วัดคิงกะกุ (ญี่ปุ่น: 金閣寺 คิงกะกุ-จิ วัดศาลาทอง) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดโระกุอง (ญี่ปุ่น: 鹿苑寺 โระกุอง-จิ วัดสวนกวาง) ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น มีศาลาทองเป็นจุดเด่นของวัด แรกเริ่มศาลาทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1940 เพื่อเป็นที่พักของโชกุนอะชิกะงะ โยะชิมิสึ ต่อมาผู้เป็นบุตรชายได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นวัดนิกายเซนสำนักรินไซ วัดถูกเผาทำลายหลายครั้งในระหว่างสงครามโอนิง ศาลาทองแห่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้หลานของโยะชิมิสึสร้างวัดอีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า วัดกิงกะกุ
ปี พ.ศ. 2537 วัดโระคุอง รวมทั้งศาลาทอง ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกร่วมกับสถานที่สำคัญอื่นๆในเมืองเคียวโตะ
ตัวศาลาทองทั้งหลัง ยกเว้นชั้นใต้ดิน ปิดคลุมด้วยแผ่นทองคำบริสุทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและโบราณวัตถุมีค่าอื่นๆ บนยอดหลังคาของศาลามีรูปหล่อทองคำรูปนกโฮโอ
ในปี พ.ศ. 2493 ศาลาทองถูกเผาทำลายโดยพระวิกลจริต ศาลาที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2498
สงครามมาพร้อมกับมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเป็นมรดกของชาติและของมนุษยชาติ หากก็สามารถรื้อฟื้นกับมาให้สวยดังเดิมได้ แต่คุณค่าทางจิตใจนั้นหวนกลับมาเหมือนเดิมได้ยากประหนึ่งดวงแก้วที่แตกร้าว เมื่อท่านต้องการจะดำรงคุณค่าสิ่งอันใดไว้ควรไตร่ตรองตรึกตรองให้ถ้วนถี่ เพราะการกระทำหลายอย่างเมื่อพ้นผ่านวันเวลาแล้วไม่สามารถจะเอากลับคืนมาได้ สิ่งนั้นเรียกว่า คุณค่าทางใจ
สัญลักษณ์ที่ดีและน่าศรัทธาควรค่าแก่การระลึกถึง เกิดจากการใคร่ครวญมาเป็นอย่างดีของผู้ออกแบบแต่ละชิ้นงาน เพื่อให้ผลงานนั้นสร้างชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ แม้บุบสลายถูกทำลายไป ก็มีผู้ที่ต้องการจะรื้อฟื้นให้คืนกลับมาสวยงามดังเดิม เหมือนเช่นเดียวกับวัดคิงกะกุ หรือนักท่องเที่ยวชาวไทยเรียกกันอย่างง่าย ๆ ว่าวัดอิคคิวซัง ในท้องเรื่องการ์ตูนอมตะนิรันดร์กาลทางช่อง 3 ของไทย
หนึ่ง เต่าดำ ควรมีมุมมองประมาณ 45 องศากับตัวอาคารหลัก
สอง เสือขาวและมังกรเขียว ควรมีมุมมองประมาณ 22.5 องศากับตัวอาคารหลัก
และสาม หงส์แดง ควรมีมุมมองประมาณ 11.25 องศากับตัวอาคารหลัก
ลักษณะดังกล่าวดูคล้ายกับเรากำลังนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและที่เท้าแขนสองข้าง (Arm chair)
ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งที่อยากจะนำเสนอคือ วัดคิงกะกุ (ญี่ปุ่น: 金閣寺 คิงกะกุ-จิ วัดศาลาทอง) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดโระกุอง (ญี่ปุ่น: 鹿苑寺 โระกุอง-จิ วัดสวนกวาง) ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น มีศาลาทองเป็นจุดเด่นของวัด แรกเริ่มศาลาทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1940 เพื่อเป็นที่พักของโชกุนอะชิกะงะ โยะชิมิสึ ต่อมาผู้เป็นบุตรชายได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นวัดนิกายเซนสำนักรินไซ วัดถูกเผาทำลายหลายครั้งในระหว่างสงครามโอนิง ศาลาทองแห่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้หลานของโยะชิมิสึสร้างวัดอีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า วัดกิงกะกุ
ปี พ.ศ. 2537 วัดโระคุอง รวมทั้งศาลาทอง ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกร่วมกับสถานที่สำคัญอื่นๆในเมืองเคียวโตะ
ตัวศาลาทองทั้งหลัง ยกเว้นชั้นใต้ดิน ปิดคลุมด้วยแผ่นทองคำบริสุทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและโบราณวัตถุมีค่าอื่นๆ บนยอดหลังคาของศาลามีรูปหล่อทองคำรูปนกโฮโอ
ในปี พ.ศ. 2493 ศาลาทองถูกเผาทำลายโดยพระวิกลจริต ศาลาที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2498
สงครามมาพร้อมกับมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินอันเป็นมรดกของชาติและของมนุษยชาติ หากก็สามารถรื้อฟื้นกับมาให้สวยดังเดิมได้ แต่คุณค่าทางจิตใจนั้นหวนกลับมาเหมือนเดิมได้ยากประหนึ่งดวงแก้วที่แตกร้าว เมื่อท่านต้องการจะดำรงคุณค่าสิ่งอันใดไว้ควรไตร่ตรองตรึกตรองให้ถ้วนถี่ เพราะการกระทำหลายอย่างเมื่อพ้นผ่านวันเวลาแล้วไม่สามารถจะเอากลับคืนมาได้ สิ่งนั้นเรียกว่า คุณค่าทางใจ
สัญลักษณ์ที่ดีและน่าศรัทธาควรค่าแก่การระลึกถึง เกิดจากการใคร่ครวญมาเป็นอย่างดีของผู้ออกแบบแต่ละชิ้นงาน เพื่อให้ผลงานนั้นสร้างชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ แม้บุบสลายถูกทำลายไป ก็มีผู้ที่ต้องการจะรื้อฟื้นให้คืนกลับมาสวยงามดังเดิม เหมือนเช่นเดียวกับวัดคิงกะกุ หรือนักท่องเที่ยวชาวไทยเรียกกันอย่างง่าย ๆ ว่าวัดอิคคิวซัง ในท้องเรื่องการ์ตูนอมตะนิรันดร์กาลทางช่อง 3 ของไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น